ประวัติ ของ จอห์น เลนนอน

1940-57 ชีวิตวัยเด็ก

บ้านเลขที่ 251 ถนนเมนเลิฟ ที่อยู่ของเลนนอนตลอดวัยเด็ก

เลนนอนเกิดในช่วงสงครามที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 1940 ที่โรงพยาบาลลิเวอร์พูลมาเทอร์นิตี ให้กำเนิดโดย จูเลีย เลนนอน (นามสกุลเดิม สแตนลีย์) และอัลเฟรด เลนนอน เชื้อสายไอริช มีอาชีพเป็นพ่อค้าเดินเรือ และไม่ได้อยู่ด้วยกันขณะเขาเกิด[2] พวกเขาชื่อบุตรว่าจอห์นตามชื่อปู่ว่า จอห์น "แจ็ก" แลนนอน ส่วนชื่อกลาง วินสตัน มาจากวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในขณะนั้น[3] พ่อของเขามักจากบ้านไปทำงานบ่อย ๆ แต่ก็ยังส่งเช็คเงินสดมาเป็นประจำที่บ้านเลขที่ 9 ถนนนิวคาสเซิล ลิเวอร์พูล ที่จอห์นอาศัยอยู่กับแม่[4] เช็คหยุดส่งมาหาพวกเขาในกุมภาพันธ์ 1944 เนื่องจากพ่อปลดประจำการโดยไม่ได้รับอนุญาต[5][6] ในที่สุด หกเดือนต่อมา พ่อของจอห์นกลับมาบ้าน เสนอว่าจะดูแลครอบครัว แต่จูเลีย ตั้งครรภ์กับชายคนอื่นแล้ว จึงปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว[7] หลังจากพี่สาวของจูเลีย มีมี สมิธ ร้องทุกข์กับบริการสังคมของลิเวอร์พูลถึงสองครั้ง จูเลียจึงส่งเลนนอนให้เธอดูแล ในเดือนกรกฎาคม 1946 พ่อของเลนนอนมาเยี่ยมสมิธ และพาเลนนอนไปเที่ยวในเมืองแบล็กพูล โดยตั้งใจลับ ๆ ว่าจะพาย้ายออกไปอยู่กับเขาที่ประเทศนิวซีแลนด์[8] แต่จูเลียและสามีคนใหม่ของเธอ บ็อบบี ไดกินส์ ตามไปจนพบ และหลังจากการทะเลาะวิวาทรุนแรง ผู้เป็นพ่อบังคับให้เลนนอนอายุ 5 ขวบเลือกว่าจะอยู่กับใคร เลนนอนเลือกพ่อของเขาถึงสองครั้ง แต่ขณะที่แม่ของเขาเดินจากไป เขาเริ่มร้องไห้และเลือกตามแม่ของเขาไป[9] เขาได้ติดต่อกับพ่อของเขาอีกครั้งหลังผ่านไป 20 ปี[10]

เลนนอนอาศัยอยู่กับลุงและป้า มีมี และ จอร์จ สมิธ ซึ่งไม่มีบุตรของตนเอง ที่เมนดิปส์ 251 ถนนเมนเลิฟ เมืองวูลตัน[11] ป้าซื้อนวนิยายเรื่องสั้นให้จอห์นหลายเล่ม และลุงเป็นเจ้าของฟาร์มวัวนมเคยซื้อหีบเพลงปากให้จอห์น และร่วมเล่นปริศนาอักษรไขว้กับจอห์นด้วย[12] จูเลียแวะมาที่เมนดิปส์เป็นประจำ และเมื่อจอห์นอายุได้ 11 ขวบ จอห์นมักจะมาเยี่ยมจูเลีย ที่ 1 ถนนบลอมฟิลด์ เมืองลิเวอร์พูล ซึ่งเธอเคยเล่นแผ่นเสียงของเอลวิส เพรสลีย์ สอนเขาเล่นแบนโจ และแสดงวิธีเล่นเพลงเพลง "เอนต์แดตอะเชม" ของแฟตส์โดมิโน[13] ในเดือนกันยายน 1980 เลนนอนให้ความเห็นเกี่ยวกับครอบครัวและนิสัยหัวรั้นของเขาว่า

ส่วนหนึ่งในตัวผมก็อยากเป็นที่ยอมรับในสังคม และไม่อยากเป็นกวีหรือนักดนตรีที่บ้าและเสียงดังน่ารำคาญ แต่ผมไม่อาจเป็นสิ่งที่ผมไม่ได้เป็นได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่พ่อแม่ของคนอื่น ๆ รวมถึงพ่อของพอล ต่างก็กล่าวว่า 'อยู่ห่างจากเขาไว้' พ่อแม่ของพวกเขารู้ดีจากสัญชาตญาณว่าผมเป็นคนสร้างปัญหา หมายความว่าผมไม่ปรับตัวและสิ่งที่ผมทำอาจส่งผลต่อลูก ๆ ของพวกเขาได้ ส่วนหนึ่งผมไม่ได้อิจฉาว่าผมไม่มีความเป็นอยู่ในบ้านอย่างเขา แต่ผมมี มีผู้หญิงห้าคนที่เคยเป็นครอบครัวของผม ผู้หญิงเข้มแข็ง ฉลาด และสวยงามห้าคน พี่สาวน้องสาวห้าคน คนหนึ่งเป็นแม่ของผม [เธอ] ไม่อาจจัดการกับชีวิตได้ เธออายุน้อยที่สุดและเธอมีสามีที่หนีออกทะเล และสงครามยังปะทุ และเธอไม่อาจรับมือกับผมกับ และต้องจบที่ผมไปอยู่กับพี่สาวของเธอ ตอนนี้ผู้หญิงเหล่านั้นเคยมหัศจรรย์ และนั่นเป็นบทเรียนเกี่ยวกับผู้หญิงครั้งแรกของผม ผมอยากบุกเข้าไปในจิตใจของเด็กชายคนอื่น ๆ และพูดว่า "พ่อแม่ไม่ใช่พระเจ้า เพราะผมไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ผม ดังนั้น ผมจึงรู้"[14]

เขาแวะเยี่ยมลูกพี่ลูกน้องชื่อ สแตนลีย์ พากส์ ที่ฟลีตวูด เป็นประจำ พากส์ มีอายุมากกว่าเลนนอน 7 ปี เคยพาเขาเดินทางและไปโรงภาพยนตร์[15] ในช่วงหยุดเรียน พากส์มักมาเยี่ยมเลนนอนพร้อมกับเลลา ฮาร์วีย์ ลูกพี่ลูกน้องอีกคนหนึ่ง และพาเขาเดินทางไปแบล็กพูลสองหรือสามครั้งต่อสัปดาห์เพื่อชมการแสดง พวกเขามักไปที่แบล็กพูลทาวเวอร์เซอร์คัส และชมศิลปินมากมาย ได้แก่ ดิกกี วาเลนไทน์ อาเธอร์ แอสกี แมกซ์ บายเกรฟส์ และโจ ลอส โดยพากส์จำได้ว่าเลนนอนชื่นชอบจอร์จ ฟอร์มบี[16] เป็นพิเศษ หลังจากครอบครัวของพากส์ย้ายไปประเทศสกอตแลนด์ ลูกพี่ลูกน้องทั้งสามคนใช้เวลาในวันหยุดร่วมกันที่นั่น พากส์จำได้ว่า "จอห์น เลลา และผม สนิทกันมาก พวกเราขับรถจากเอดินบะระ ขึ้นไปหาครอบครัวที่เดอร์เนส ตั้งแต่จอห์นอายุราว 9 ปี จนกระทั่งเขาอายุ 16 ปี"[17] ลุงจอร์จเสียชีวิตด้วยอาการตกเลือดที่ตับในวันที่ 5 มิถุนายน 1955 (สิริอายุ 52 ปี) เมื่อเลนนอนอายุ 14 ปี[18]

เลนนอนนับถือนิกายแองกลิคันและเข้าศึกษาที่โดฟเดลไพรแมรีสกูล[19] หลังจากผ่านการทดสอบอีเลเวนพลัส เขาเข้าศึกษาที่โรงเรียนควอรีแบงก์ไฮสกูล ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 1952 ถึง 1957 และฮาร์วีย์พูดถึงเขาว่า "เด็กหนุ่มร่าเริง เรียบง่าย อารมณ์ดี ไม่ทุกข์ไม่ร้อน"[20] เขามักวาดการ์ตูนขบขันลงนิตยสารที่โรงเรียนพิมพ์เองชื่อ เดอะเดลีฮาวล์[21] แต่แม้ว่าเขามีพรสวรรค์ด้านศิลปะ แต่ผลการเรียนของเขากลับออกมาเลวร้าย: "อยู่บนถนนสู่ความล้มเหลว สิ้นหวัง มากกว่าเป็นตัวตลกในห้องเรียน เสียเวลาของนักเรียนคนอื่น ๆ"[22]

แม่ของเขาซื้อกีตาร์ตัวแรกให้ในปี 1956 กีตาร์โปร่งรุ่นกีตาร์รุ่นแกลโลโทน แชมเปียน ราคาถูก โดยเธอให้ลูกชายยืมเงิน 5 ปอนด์ 10 ชิลลิง ในเงื่อนไขว่ากีตาร์ต้องถูกส่งมาที่บ้านของเธอ ไม่ใช่บ้านของมีมี เนื่องจากตระหนักว่าพี่สาวของเธอไม่สนับสนุนให้ลูกชายเป็นนักดนตรี[23] ขณะที่มีมีสงสัยกับคำกล่าวที่ว่าเขาจะต้องมีชื่อเสียงสักวัน เธอหวังว่าเขาจะเบื่อดนตรี และมักบอกเขาว่า "กีตาร์เป็นสิ่งที่ดีนะจอห์น แต่แกจะหาเลี้ยงชีพจากมันไม่ได้หรอก"[24] ในวันที่ 15 กรกฎาคม 1958 ขณะเลนนอนอายุ 17 ปี แม่ของเขาเดินออกจากบ้านหลังจากเยี่ยมบ้านของสมิธ ถูกรถยนต์ชนและเสียชีวิต[25]

เลนนอนสอบตกการวัดระดับการศึกษาทั่วไประดับโอทุกวิช และได้รับเลือกเข้าเรียนที่วิทยาลัยศิลปะลิเวอร์พูลหลังจากป้าของเขาและอาจารย์ใหญ่เข้ามาช่วย[26] ขณะเรียนที่วิทยาลัย เขาเริ่มใส่ชุดเท็ดดีบอย และเป็นที่จดจำในเรื่องขัดขวางการเรียนการสอนและล้อเลียนครู ส่งผลให้เขาถูกคัดชื่อออกจากวิชาวาดภาพ วิชาศิลปะกราฟิก และถูกตักเตือนว่าจะถูกไล่ออก หลังจากเขามีพฤติกรรมนั่งบนตักของนางแบบเปลือยในวิชาวาดภาพคน[27] เขาสอบตกการสอบประจำปี แม้ว่ามีเพื่อนและอนาคตภรรยาของเขา ซินเธีย เพาเอลล์ คอยช่วยเหลือ และเขาถูก "ไล่ออกจากวิทยาลัยก่อนเรียนปีสุดท้าย"[28]

1957-70: เดอะควอรีเม็น สู่ เดอะบีเทิลส์

1957-66: ก่อตั้งวง ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์และปีที่มีทัวร์

เมื่ออายุ 15 ปี เลนนอนก่อตั้งวงดนตรีแนวสกิฟเฟิลชื่อ เดอะควอรีเม็น ตั้งชื่อตามชื่อโรงเรียนควอรีแบงก์ไฮสกูล เมื่อเดือนกันยายน 1956[29] ในฤดูร้อนปี 1957 เดอะควอรีเม็นเล่น "เพลงหลายเพลงในแบบมีชีวิตชีวา" เป็นแนวครึ่งสกิฟเฟิลครึ่งร็อกแอนด์โรล[30] เลนนอนพบกับพอล แม็กคาร์ตนีย์ครั้งแรกในการแสดงครั้งที่สอง จัดขึ้นที่วูลตันในงานเลี้ยงในสวนของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ เขาชวนแม็กคาร์ตนีย์ให้มาร่วมเล่นกับวง[31]

แม็กคาร์ตนีย์กล่าวว่าป้ามีมี "รู้ว่าเพื่อนของจอห์นเป็นคนฐานะด้อยกว่า" และมักจะดูแลเขาเมื่อเขามาหาเลนนอน[32] ไมก์ พี่ชายของพอล กล่าวว่า พ่อของแม็กคาร์ตนีย์ก็ไม่สนับสนุน พร้อมกล่าวว่าเลนนอนจะพาลูกชายของเขา "เจอแต่ปัญหา"[33] แม้ว่าต่อมาเขาอนุญาตให้ซ้อมดนตรีในห้องหน้าบ้านของแม็กคาร์ตนีย์ที่บ้านเลขที่ 20 ถนนฟอร์ทลิน[34][35] ในระหว่างนี้ เลนนอนอายุ 18 ปีเขียนเพลงแรกชื่อ "เฮลโลลิตเทิลเกิร์ล" เป็นเพลงดังติด 10 อันดับแรกในสหราชอาณาจักรของวงเดอะโฟร์โมสต์ในอีกห้าปีต่อมา[36]

แม็กคาร์ตนีย์แนะนำให้จอร์จ แฮร์ริสัน เป็นมือกีตาร์นำ[37] เลนนอนคิดว่าแฮร์ริสัน (อายุ 14 ปีในขณะนั้น) ยังอายุน้อยเกินไป แม็กคาร์ตนีย์ช่วยควบคุมเสียงให้บนดาดฟ้าของรถประจำทางลิเวอร์พูลให้กับแฮร์ริสันที่กำลังเล่นเพลง "รอนชี" ให้เลนนอน และได้รับชวนให้ร่วมวง[38] สจ๊วต ซัตคลิฟฟ์ เพื่อนจากโรงเรียนศิลปะของเลนนอนร่วมวงในตำแหน่งมือเบส[39] เลนนอน แม็กคาร์ตนีย์ แฮร์ริสัน และซัตคลิฟฟ์ รวมตัวกันเป็น "เดอะบีเทิลส์" ในต้นปี 1960 ในเดือนสิงหาคมปีนั้น เดอะบีเทิลส์ได้พำนักอยู่ที่ฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี เป็นเวลา 48 คืน และเนื่องจากสิ้นหวังจากเหตุขาดมือกลอง จึงชวนพีต เบสต์ มาร่วมด้วย[40] เมื่อเลนนอนอายุ 19 ปี เขาบอกป้าเรื่องการเดินทางดังกล่าว ป้าของเขารู้สึกกลัว และขอร้องให้เขากลับมาเรียนศิลปะแทน[41] หลังอาศัยที่ฮัมบวร์คครั้งแรก วงกลับมาพำนักอีกครั้งในเดือนเมษายน 1961 และครั้งที่สามในเดือนเมษายน 1962 เลนนอนและเพื่อนร่วมวงได้รู้จักกับยาพรีลูดินขณะอยู่ที่ฮัมบวร์ค[42] และเริ่มเสพยาเป็นประจำ รวมถึงแอมเฟตามีนด้วย โดยใช้เป็นยากระตุ้นระหว่างการแสดงยาวนานข้ามคืน[43]

ไบรอัน เอปสไตน์ ผู้จัดการวงตั้งแต่ปี 1962 ยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการจัดการศิลปินมาก่อน แต่มีอิทธิพลสูงจากรหัสการแต่งกายในยุคต้นและทัศนคติบนเวที[44] แรกเริ่ม เลนนอนไม่เห็นชอบความพยายามที่เขากระตุ้นวงให้แสดงดนตรีอย่างมืออาชีพ แต่ในที่สุดก็ยอมรับ กล่าวว่า "ผมจะสวมบอลลูนโชกเลือดถ้าจะมีสักคนจ่ายเงินผม"[45] แม็กคาร์ตนีย์เล่นเบสแทนซัตคลิฟฟ์ หลังจากซัตคลิฟฟ์ตัดสินใจอยู่ฮัมบวร์คต่อ และมือกลองชื่อ ริงโก สตาร์ มาแทนที่เบสต์ กลายเป็นสมาชิกวงชุดสมบูรณ์จนกระทั่งแยกวงในปี 1970 ซิงเกิลแรกของวง "เลิฟมีดู" ออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม 1962 และขึ้นอันดับ 17 ในชาร์ตของสหราชอาณาจักร พวกเขาอัดอัลบั้มแรกชื่อ พลีสพลีสมี เสร็จในเวลา 10 ชั่วโมงในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1963[46] ซึ่งเป็นวันที่เลนนอนเป็นหวัด[47] เห็นได้ชัดจากเสียงร้องของเขาในเพลง "ทวิสต์แอนด์เชาต์"[48] เพลงสุดท้ายที่อัดวันนั้น เลนนอนและแม็กคาร์ตนีย์แต่งเพลงร่วมกันจำนวน 8 เพลงจาก 14 เพลง แต่มีข้อยกเว้น อย่างแรกคือชื่ออัลบั้ม เลนนอนยัง เล่นคำในเนื้อเพลงที่ร้องว่า "We were just writing songs ... pop songs with no more thought of them than that—to create a sound. And the words were almost irrelevant"[46] ในบทสัมภาษณ์ปี 1987 แม็กคาร์ตนีย์กล่าวว่าบีเทิลส์คนอื่น ๆ หลงใหลในตัวจอห์น "เขาเป็นดั่งเอลวิสตัวน้อย ๆ ของพวกเรา เรานับถือจอห์น เขาแก่กว่าและค่อนข้างเป็นผู้นำ เขามีสติปัญญาว่องไวและฉลาดที่สุด"[49]

ไฟล์:John Lennon 1964 001 cropped.pngเลนนอนแสดงในปี 1964

เดอะบีเทิลส์ประสบความสำเร็จกระแสหลักในสหราชอาณาจักรในช่วงต้นปี 1963 เลนนอนกำลังทัวร์คอนเสิร์ต ขณะที่ลูกชายคนแรกของเขา จูเลียน เกิดในเดือนเมษายน ในระหว่างการแสดงรายการโรยัลวาไรตีโชว์ ที่มีพระราชินีและราชวงศ์บริติชเข้าชมการแสดงด้วยนั้น เลนนอนเล่นตลกกับผู้ชมว่า "สำหรับเพลงต่อไป ผมอยากขอความช่วยเหลือจากพวกคุณ สำหรับคนที่นั่งที่นั่งราคาถูก ให้ปรบมือ ... และพวกคุณที่เหลือ หากคุณจะช่วยส่งเสียงเพชรพลอยให้ได้ยินสักหน่อย"[50] หลังช่วงบีเทิลเมเนียในสหราชอาณาจักรผ่านไปหนึ่งปี วงได้ปรากฏตัวครั้งประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในรายการ ดิเอ็ดซัลลิแวนโชว์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1964 ทำให้พวกเขาได้แจ้งเกิดสู่ความเป็นดาราต่างประเทศ ตามมาด้วยช่วงเวลาทัวร์ต่อเนื่องสองปี การถ่ายทำภาพยนตร์ และการแต่งเพลง ระหว่างนั้น เลนนอนเขียนหนังสือสองเล่มคือ อินฮิสโอนไรต์ และ อะสเปเนียดอินเดอะเวิกส์[51] เดอะบีเทิลส์เป็นที่จดจำจากสถาบันบริติช หลังจากเขาได้นัดพบกับขุนนางจากเครื่องอิสริยาภรณ์ของอาณาจักรบริติช ในงานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของพระราชินีปี 1965[52]

เลนนอนตระหนักว่าแฟนคลับที่ชมคอนเสิร์ตของบีเทิลส์ไม่อาจได้ยินเสียงดนตรีได้เนื่องจากเสียงกรีดร้องดังมาก และความสามารถทางดนตรีของวงเริ่มมีปัญหา[53] เพลง "เฮลป์!" (ช่วยด้วย!) ของเลนนอนในปี ปี 1965 แสดงความรู้สึกของเขาว่า "ผมหมายถึงอย่างนั้นจริง ๆ ผมกำลังร้องว่า 'ช่วยด้วย'"[54] เขาน้ำหนักขึ้น (ต่อมาเขาเรียกช่วงเวลานี้ว่า "เอลวิสอ้วน")[55] และรู้สึกว่าจิตใต้สำนึกของเขากำลังมองหาความเปลี่ยนแปลง[56] ในเดือนมีนาคมปีนั้น เขาได้รู้จักกับยาแอลเอสดีโดยไม่รู้ตัว เมื่อเขาดื่มกาแฟที่มียานั้นอยู่[57] ขณะที่เขา แฮร์ริสัน และภรรยาของพวกเขาพบกับหมอฟันเจ้าของงานสังสรรค์มื้อเย็น เมื่อพวกเขาต้องการออกจากงานเลี้ยง เจ้าบ้านเปิดเผยสิ่งที่พวกเขาดื่มเข้าไป และแนะว่าไม่ให้ออกจากบ้านเนื่องจากยาจะออกฤทธิ์ ต่อมา ในลิฟต์ที่ไนต์คลับแห่งหนึ่ง พวกเขาทุกคนเชื่อว่าไฟกำลังครอกตัวพวกเขา "พวกเรากรีดร้อง... ร้อนและเหมือนเป็นโรคประสาท"[58] ในเดือนมีนาคม 1966 ระหว่างสัมภาษณ์กับนักข่าวหนังสือพิมพ์อีฟนิงสแตนดาร์ด มอรีน คลีฟ เลนนอนกล่าวว่า "คริสต์ศาสนาจะหายไป มันจะเลือนและหดหาย ตอนนี้พวกเราโด่งดังกว่าพระเยซูแล้ว ผมไม่รู้ว่าอะไรจะไปก่อนกัน ระหว่างร็อกแอนด์โรลกับคริสต์ศาสนา"[59] ความเห็นนี้ไม่เป็นที่สังเกตในอังกฤษ แต่ก่อให้เกิดความขุ่นเคืองครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อนิตยสารฉบับหนึ่งนำคำกล่าวไปใช้ที่นั่นในห้าเดือนถัดมา หลังจากนั้นมีการปะทะเชิงอารมณ์ตามมา กิจกรรมของการเคลื่อนไหวคูคลักซ์แคลนและการขู่ทำร้ายเลนนอนทำให้วงตัดสินใจหยุดทัวร์คอนเสิร์ต[60]

1967-70: ช่วงปีที่อัดเสียง การยุบวง และงานเพลงเดี่ยว

เนื่องจากขาดช่วงจากการแสดงสดหลังคอนเสิร์ตเชิงพาณิชย์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 สิงหาคม 1966 เลนนอนรู้สึกหลงทางและคิดลาออกจากวง[61] เนื่องจากเขาได้ใช้ยาแอลเอสดีโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เขาใช้ยานั้นเพิ่มขึ้น และเกือบเสพติดถาวรเกือบตลอดปี 1967[62] นักชีวประวัติ เอียน แม็กโดนัลด์ กล่าวว่า การที่เลนนอนใช้แอลเอสดีต่อเนื่องตลอดปีนั้นทำให้เขา "เกือบลบความเป็นตัวตนออกไป"[63] ปี 1967 มีเพลง "สตรอเบอรีฟิลส์ฟอร์เอฟเวอร์ ที่นิตยสารไทม์ทักว่าเป็น "งานประดิษฐ์ที่น่าทึ่ง"[64] และอัลบั้มที่โดดเด่นของวงคือ ซาร์เจินต์เปปเปอส์โลนลีฮาตส์คลับแบนด์ เผยเนื้อร้องของเลนนอนที่ขัดกับเพลงรักหลายเพลงในช่วงแรก ๆ ของเลนนอนและแม็กคาร์ตนีย์อย่างมาก

ในเดือนสิงหาคม หลังจากได้เข้าชมรมมหาฤๅษี มเหศโยคี วงเข้าสัมมนาการทำสมาธิอดิศัยเพื่อขอคำแนะนำส่วนตัวในช่วงสุดสัปดาห์ที่แบงเกอร์ ประเทศเวลส์[65] และได้ข่าวการตายของเอปสไตน์ในระหว่างสัมมนา "ผมรู้ว่าเรามีปัญหาแล้วในตอนนั้น" เลนนอนกล่าวต่อมา "ผมไม่ได้เข้าใจผิดเกี่ยวกับความสามารถอื่น ๆ ของพวกเรา นอกจากเล่นดนตรี และผมกลัว"[66] ต่อมา เดอะบีเทิลส์เดินทางไปที่อาศรมของมหาฤๅษีที่ประเทศอินเดียเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม[67] ขณะอยู่ที่นั่น พวกเขาแต่งเพลงหลายเพลงสำหรับอัลบั้มเดอะบีเทิลส์ และแอบบีย์โรดด้วย[68]

เลนนอนได้แสดงภาพยนตร์ต่อต้านสงครามเรื่อง ฮาวไอวันเดอะวอร์ แบบเต็มเรื่องเพียงเรื่องเดียวที่ไม่เกี่ยวกับเดอะบีเทิลส์ ภาพยนตร์ออกฉายในเดือนตุลาคม 1967[69] แม็กคาร์ตนีย์เป็นคนจัดการโครงการโครงการแรกของวงหลังเอปไตน์เสียชีวิต[70] ในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง แมจิคัลมิสเตอรีทัวร์ โดยพวกเขาเขียนบทเอง ผลิตเอง และกำกับเอง ฉายในเดือนธันวาคมปีนั้นเอง แม้ว่าภาพยนตร์จะล้มเหลวอย่างหนัก แต่เพลงประกอบภาพยนตร์ "ไอแอมเดอะวอลรัส" ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากลูอิส แคร์รอลและทำให้เลนนอนได้รับคำชม กลับประสบความสำเร็จ[71][72] หลังจากเอปสไตน์จากไป สมาชิกวงเข้ามาทำกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น และในเดือนกุมภาพันธ์ 1968 พวกเขาก่อตั้งแอปเปิลคอร์ บริษัทมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยค่ายเพลงแอปเปิลเรเคิดส์ และบริษัทย่อยอีกหลายบริษัท เลนนอนพูดถึงการทำธุรกิจครั้งนี้ว่าเป็นความพยายามที่จะบรรลุ "อิสรภาพทางศิลปินภายในโครงสร้างธุรกิจ"[73] แต่ด้วยการใช้ยาที่มากขึ้น ความลุ่มหลงในตัวโยโกะ โอโนะ และแผนการสมรสของแม็กคาร์ตนีย์ เลนนอนลาออกจากแอปเปิลเนื่องจากต้องการการจัดการที่เป็นมืออาชีพ เลนนอนขอให้ลอร์ด บีชิง เข้ามาทำหน้าที่แทน แต่เขาปฏิเสธ โดยแนะนำเลนนอนให้กลับไปทำเพลง เลนนอนไปหาอัลเลน ไคลน์ ซึ่งเคยทำดนตรีให้เดอะโรลลิงสโตนส์และวงอื่น ๆ ระหว่างยุคการรุกรานของชาวบริติช เลนนอน แฮร์ริสัน และสตาร์ มอบหมายให้ไคลน์ทำหน้าที่ผู้บริหาร[74] แต่แม็กคาร์ตนีย์ไม่เซ็นสัญญาดังกล่าว[75]

ปลายปี 1968 เลนนอนแสดงในภาพยนตร์เรื่องเดอะโรลลิงสโตนร็อกแอนด์โรลเซอร์คัส (ออกฉายในปี 1996) ในบทสมาชิกวงเดอร์ตีแม็ก ซูเปอร์กรุปนี้ประกอบด้วยจอห์น เลนนอน เอริก แคลปตัน คีธ ริชาดส์ และมิตช์ มิตเชลล์ และร้องเบื้องหลังโดยโอโนะ[76] เลนนอนและโอโนะสมรสกันในวันที่ 20 มีนาคม 1969 และออกจำหน่ายภาพพิมพ์หินชื่อ "แบกวัน" (Bag One) 14 ภาพ เป็นภาพบรรยายถึงช่วงเวลาฮันนีมูนของพวกเขา ภาพจำนวนแปดภาพถูกมองว่าไม่เหมาะสมและส่วนใหญ่ถูกห้ามจำหน่ายและริบไว้[77] ความสร้างสรรค์ของเลนนอนยังคงดำเนินต่อไปกับวงเดอะบีเทิลส์ และระหว่างปี 1968 และ 1969 เขาและโอโนะบันทึกอัลบั้มเพลงแนวดนตรีทดลองร่วมกัน ได้แก่ อัลบั้มอันฟินิชด์มิวสิกนัมเบอร์ 1: ทูเวอร์จินส์[78] (ปกเป็นที่รู้จักมากกว่าเพลง) อันฟินิชด์มิวสิกนัมเบอร์ 2: ไลฟ์วิดเดอะไลออนส์ และเวดดิงอัลบั้ม ในปั 1969 พวกเขาตั้งวง พลาสติกโอโนะแบนด์ ออกอัลบั้มไลฟ์พีซอินโตรอนโต 1969 ระหว่างปี 1969 และ 1970 เลนนอนออกซิงเกิล "กิฟพีซอะชานซ์" (ถูกนำไปเปิดเป็นเพลงรณรงค์การต่อต้านสงครามเวียดนามในปี 1969)[79] "โคลด์เทอร์คี" (เล่าเรื่องการถอนยาหลังจากเขาเสพติดเฮโรอีน)[80] และ "อินสแตนต์คาร์มา" ในการประท้วงการที่บริเตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองไนจีเรีย[81] กองกำลังสนับสนุนของอเมริกาในสงครามเวียดนาม และประท้วงที่เพลง "โคลด์เทอร์คี" ตกอันดับชาร์ต[82] เลนนอนคืนเครื่องอิสริยาภรณ์ของอาณาจักรบริติชให้พระราชินี แม้ว่าจะไม่มีผลใด ๆ ต่อสถานะของเครื่องอิสริยาภรณ์ของอาณาจักรบริติชของเขา เนื่องจากสถานะไม่อาจยกเลิกได้[83]

เลนนอนออกจากวงเดอะบีเทิลส์ในเดือนกันยายน 1969[84] และจะไม่ชี้แจงสื่อใด ๆ ขณะที่เจรจาสัญญาครั้งใหม่กับสังกัด แต่เขาโกรธที่แม็กคาร์ตนีย์เผยแพร่การแยกทางจากวงโดยออกผลงานเดี่ยวอัลบั้มแรกในเดือนเมษายน 1970 เลนนอนมีปฏิกิริยาว่า "พระเจ้า! เขาเอาหน้าอยู่คนเดียวเลย"[85] เขายังเขียนต่อไปว่า "ผมก่อตั้งวง ผมยุบวง ง่าย ๆ อย่างนั้นเลย"[86] ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารโรลลิงสโตน เขาแสดงความขุ่นเคืองต่อแม็กคาร์ตนีย์ว่า "ผมมันโง่ที่ไม่ทำอย่างที่พอลทำ เพื่อที่จะใช้ข่าวนี้ขายงานเพลง"[87] เขายังพูดว่าเขารับรู้ได้ถึงความเป็นปฏิปักษ์ที่สมาชิกคนอื่นมีต่อโอโนะ และเกี่ยวกับว่าแฮร์ริสัน และสตาร์ รู้สึก "เบื่อการเป็นตัวประกอบให้กับพอล ... หลังจากไบรอัน เอปสไตน์เสียชีวิต พวกเราประสบปัญหา พอลรับช่วงต่อ และเป็นผู้นำทางพวกเรา แต่อะไรจะนำทางเราได้เมื่อเราเดินทางเป็นวงกลม"[88]

แหล่งที่มา

WikiPedia: จอห์น เลนนอน http://annarborchronicle.com/2009/12/27/the-day-a-... http://www.bloomberg.com/news/2014-08-22/john-lenn... http://www.johnlennon.com http://www.johnlennon.com/ http://performingsongwriter.com/john-lennon-fbi-fi... http://rockhall.com/event/john-lennon/?flavour=mob... http://nysdoccslookup.doccs.ny.gov/GCA00P00/WIQ3/W... http://www.telegraph.co.uk/culture/culturenews/412... https://commons.wikimedia.org/wiki/John_Lennon?set...